วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์

 การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วย เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD)
                การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD)  เป็นวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ  โดยการใช้กลุ่มผลสัมฤทธิ์ในการจัดกลุ่มผู้เรียน  คละความสามารถ ได้แก่ เก่ง กลาง อ่อน กลุ่มละ ๔ -๖ คน  โดยการมอบหมายกิจกรรมทั้งด้านความรู้และปฏิบัติให้ศึกษาร่วมกัน มีการช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มให้มีความรู้และปฏิบัติดีขึ้น  ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบย่อยทุกครั้งหลังจากเรียนจบในแต่ละเนื้อหาสาระ เพื่อเก็บคะแนนไว้ และทำแบบทดสอบครั้งสุดท้ายซึ่งเป็นการทดสอบรวบยอด   นำคะแนนที่ได้ของแต่ละคนไปหาคะแนนพัฒนาการแล้วนำมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม   กลุ่มใดได้คะแนนพัฒนาการมากที่สุด  กลุ่มนั้นเป็นผู้ได้รับรางวัล

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD)
           ผู้ช่วยศาสตราจารย์   ดร.วัชรา เล่าเรียนดี(๒๕๕๒ : ๑๖๓ - ๑๖๕)   ได้เสนอแนวทางขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์  ดังนี้
                  ขั้นนำ หรือเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน
                                (๑)  บอกจุดประสงค์การเรียนรู้ และความสำคัญของการเรียนรู้ในเรื่องนั้น และทบทวนวิธีร่วมมือกันเรียนรู้
                                (๒)  เร้าความสนใจด้วยการตั้งคำถามหรือสาธิต
                                (๓)  ทบทวนความรู้เดิม หรือทักษะเดิมที่เรียนไปแล้ว
                  ขั้นสอน
                                (๑) ใช้เทคนิควิธีสอนแบบต่างๆที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละสาระ
                                (๒)  กิจกรรมการสอนและการเรียนรู้ควรเน้นความเข้าใจมากกว่าการจำ
                                (๓)  สาธิตทักษะ กระบวนการ อธิบายสาระความรู้ให้กระจ่างพร้อมตัวอย่างให้ชัดเจน
                                (๔)  ตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนทุกคนอย่างทั่วถึง
                                (๕)  อธิบายคำตอบ  บอกสาเหตุที่ทำผิด และทบทวนวิธีทำ
                                (๖)  สอนเพิ่มเติมในเนื้อหาอื่นเมื่อนักเรียนเข้าใจเรื่องที่สอนไปแล้ว
                                (๗)  ถามคำถามหลายระดับ และถามให้ทั่วถึงทุกคน
                  ให้ฝึกปฏิบัติโดยครูคอยแนะนำ
                                (๑) ฝึกจากใบงานหรือใบกิจกรรมที่มอบหมาย
                                (๒)  ฝึกจากแบบฝึกหัดที่กำหนด
                                (๓)  ถามคำถามนักเรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
                  กิจกรรมกลุ่ม
                                (๑)  มอบหมายใบงาน  ใบกิจกรรม  ใบประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่ม ( ๒ ชุด ต่อ 1 กลุ่ม )  ทบทวนวิธีการเรียนรู้  และการประเมินผลการเรียนรู้และการประเมินผลงานกลุ่ม
                                (๒)  ทบทวนบทบาทหน้าที่และการปฏิบัติตนในการทำงานกลุ่มของสมาชิกกลุ่ม
                                (๓)  คอยติดตามดูแลการปฏิบัติงานกลุ่ม และปรับแก้ไขพฤติกรรมที่เหมาะสม  ให้สมาชิกทุกคนร่วมมือกันเรียนรู้ ช่วยเหลือกันและกัน
                                (๔)  ทำข้อสอบย่อยเป็นรายบุคคล (ใช้เวลา  ๑๕๒๐ นาที)
                                (๕)  ประเมินผลงานกลุ่มและการปฏิบัติงานกลุ่ม
                                (๖)  ครูต้องคอยเน้นย้ำเสมอว่า  นักเรียนหรือสมาชิกกลุ่มทุกคนต้องแน่ใจว่า สมาชิกทุกคนรู้และเข้าใจอย่างที่ตนเองรู้และเข้าใจ  งานที่ให้ทำยังส่งไม่ได้ถ้าทุกคนยังทำไม่เสร็จ (แต่ละกลุ่ม) สมาชิกกลุ่มควรถามเพื่อนในกลุ่มถ้าไม่เข้าใจ (ไม่ควรอาย)  และให้สมาชิกกลุ่มคอยเอาใจใส่ช่วยเหลือแนะนำเพื่อนด้วยกัน  ด้วยความเต็มใจ
                การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(Student Teams Achievement  Division หรือ STAD)  กระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ  ดังนี้ 
                .  การสอนของครู (Teach)
                .  การร่วมมือกันเรียนรู้ ( Team Study) ของนักเรียน
                .  การทดสอบความรู้ความเข้าใจ (Test)
                .  การให้รางวัลกลุ่ม (Team Recognition)  จากคะแนนรวมของกลุ่ม (จากคะแนนพัฒนาการของแต่ละคนรวมกันหารด้วยจำนวนสมาชิก)
                เทคนิค STAD จะต้องเริ่มต้นด้วยการสอนของครูก่อนทุกครั้ง  ซึ่งอาจใช้เวลาในการสอน ๑  ครั้ง  ในแต่ละหน่วยการเรียนตามความเหมาะสม จุดประสงค์คือ นำเสนอ  เนื้อหาสาระหรือทักษะ  ต้องให้นักเรียนได้รู้และเข้าใจ สื่อการเรียนการสอนคือ  แผนการจัดการเรียนรู้  รวมทั้งใบกิจกรรม  ใบงาน ใบความรู้ สำหรับนักเรียนและแบบทดสอบผลเป็นรายบุคคล  แบบประเมินผลพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (สำหรับครู)  แบบประเมินผลการทำงานกลุ่มของนักเรียน(สำหรับนักเรียน) ข้อแนะนำที่สำคัญก็คือ  ในขั้นสอนครูควรดำเนินการสอนตามลำดับขั้นตอน  มีการสาธิต  การยกตัวอย่างอธิบายอย่างชัดเจน  รวมทั้งให้ฝึกปฏิบัติโดยครูคอยแนะนำก่อนจัดกลุ่มให้นักเรียนปฏิบัติงานร่วมมือกันเรียนรู้  ดังนั้นในขั้นสอนครูอาจจะเลือกกระบวนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  กระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง เช่น กระบวนการสอนแบบ Explicit Teaching  ของ โรเซนไชน์, Hunter Teachint  model  ของ ฮันเดอร์ หรือ กิจกรรมการสอนของกู๊ด และโกรวส์ (Good, Grouws and Ebmeier 1983)

พื้นฐานเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย

๑.๑   ความหมายและที่มาของนาฏศิลป์
- ความหมายของนาฏศิลป์
นาฏศิลป์ (นาด ตะ สิน)  เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจาก ๒  คำ  คือ คำว่า นาฏ                หมายถึงการฟ้อนรำ  และคำว่า ศิลปะ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ดัดแปลงขึ้นมาจากธรรมชาติให้มีความวิจิตรงดงามขึ้น
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๕  ได้ให้ความหมายของคำว่า นาฏศิลป์ไว้ว่า เป็นศิลปะแห่งการละครหรือฟ้อนรำ  นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษา ท่านผู้รู้       ได้ให้นิยามความหมายของนาฏศิลป์แตกต่างกันออกไป  ดังนี้
/  ศิลปะการละครหรือการฟ้อนรำของไทย
/  ความช่ำชองในการละครฟ้อนรำ
/  การร้องรำทำเพลงให้เกิดความบันเทิงใจ
/  การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติด้วยความประณีตลึกซึ้ง
/  ศิลปะการฟ้อนรำหรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความงามอย่างมีแบบแผน
ดังนั้นสรุปได้ว่า  นาฏศิลป์ไทย  หมายถึง  ศิลปะแห่งการแสดงท่าทางในการฟ้อนรำแบบไทยด้วยความประณีตงดงาม  เพื่อก่อให้เกิดความรื่นรมย์ อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกให้       คล้อยตาม  ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น
-  ที่มาของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทยน่าจะมีที่มาจาก ๓ แหล่ง ดังนี้
(๑)     จากการละเล่นของชาวบ้านในท้องถิ่น 
หลังจากเสร็จสิ้นจากภารกิจในแต่ละวัน  ชาวบ้านก็จะหาเวลาว่างมาร่วมกันร้องรำทำเพลง  โดยมีการนำเอาดนตรีมาประกอบด้วย และตามนิสัยของคนไทยที่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน  ชอบ  ร้องเพลงโต้ตอบระหว่างชายกับหญิงจนเกิดเป็นพ่อเพลง  แม่เพลงขึ้น  โดยจะมีลูกคู่คอยร้องรับกันเป็นที่สนุกสนานครื้นเครง  จากการละเล่นของชาวบ้านดังกล่าวจึงเกิดเป็นนาฏศิลป์พื้นบ้านขึ้น
(๒)   จากการเซ่นสรวงบูชา
มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้         สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชาเซ่นสรวง มักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ  ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้  มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบ     ผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู  ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป
           (๓)   การรับอารยธรรมของอินเดีย  
ประเทศอินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่อารยธรรมเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่โบราณกาล โดยเฉพาะการละครในอินเดียรุ่งเรืองมาก ประกอบกับชนชาติอินเดียนับถือและเชื่อมั่นในศาสนา พระผู้เป็นเจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ พระผู้เป็นเจ้าที่ชาวอินเดียนับถือ ได้แก่ พระอิศวร       (พระศิวะ)  พระวิศณุและพระพรหม ในบางยุคชาวอินเดียถือว่า พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีผู้เคารพนับถือมาก ยุคนี้ถือว่า พระอิศวรทรงเป็นนาฏราช (ราชาแห่งการร่ายรำ) มีประวัติทั้งในสวรรค์และในเมืองมนุษย์ ในการร่ายรำของพระอิศวรแต่ละครั้ง พระทรงให้พระภรตฤาษีเป็นผู้บันทึกท่ารำแล้วนำมาสั่งสอนแก่เหล่ามนุษย์ จนเป็นที่มาของตำนานการฟ้อนรำ และในการเรียนนาฏศิลป์ไทยผู้เรียนทุกคนจะต้องเข้าพิธีไหว้ครูก่อนซึ่งได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระพิฆเณศวร พระพิราบ และพระภรตฤาษี อันเป็นครูทางนาฏศิลป์และเป็นเทพเจ้าของศาสนาพรหมณ์ – ฮินดู
๑.๒  องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทยจะหมายรวมไปถึงการร้องรำทำเพลง ฉะนั้นก่อนที่จะมาเป็นนาฏศิลป์ไทยได้ จะต้องประกอบด้วยประกอบสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
 (๑)  การฟ้อนรำ
 การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำ เป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนรำที่สวยงามโดยมีมนุษย์เป็น ผู้ประดิษฐ์ท่ารำเหล่านี้ให้ถูกต้องตามแบบแผน รวมทั้งบทบาทและลักษณะของตัวละคร ประเภทของการแสดง และการสื่อความหมายที่ชัดเจน
(๒)  จังหวะ
 เป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยจำเป็นต้องใช้จังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัด  เพราะจังหวะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้ว ก็สามารถรำได้สวยงาม แต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะก็จะทำให้รำไม่ถูกจังหวะ การรำก็จะไม่สวยงามและไม่ถูกต้อง
(๓)  เนื้อร้องและทำนองเพลง
การแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้อง และทำนองเพลง ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของท่ารำ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดจนสามารถ   สื่อความหมายให้กับผู้ชมเข้าใจตรงกันได้ เช่น การแสดงอารมณ์เขินอาย ผู้แสดงจะใช้ฝ่ามือไว้       ที่แก้ม เป็นต้น

(๔)  การแต่งกาย
การแต่งกายเป็นการแสดงนาฏศิลป์ สามารถบ่งบอกถึงยศ ฐานะและบรรดาศักดิ์ของ         ผู้แสดงละครตัวนั้นๆ โดยเฉพาะการแสดงโขน การแต่งกายจะเปรียบเสมือนแทนสีกายของ         ตัวละคร เช่น เมื่อแสดงเป็นหนุมานผู้แสดงจะต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาวมีลายปัก  สวมหัวลิงสีขาว ปากอ้า เป็นต้น
(๕)  การแต่งหน้า
 การแต่งหน้า เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผู้แสดงสวยงาม และอำพรางข้อบกพร่องของใบหน้าของผู้แสดงได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีการแต่งหน้าเพื่อบอกวัย  บอกลักษณะเฉพาะของตัวละครได้ เช่น แต่งหน้าเป็นตัวตลก เป็นต้น
(๖)     เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดง
 การแสดงนาฏศิลป์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงเพื่อช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์และสื่อความหมายได้ชัดเจน   ดังนั้นผู้แสดงจะต้องรำให้สอดคล้องตามเนื้อร้องและทำนองเพลง  และดนตรียังช่วยทำให้บรรยากาศในการแสดงสมจริงยิ่งขึ้น       
(๗)  อุปกรณ์การแสดงละคร
 การแสดงนาฏศิลป์ไทยบางชุด อาจต้องมีอุปกรณ์ประกอบการแสดง เช่น  ระบำตาลีกีปัต (ระบำพัด)  ฟ้อนร่ม เป็นต้น  ผู้แสดงต้องมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่ว วางอยู่ในระดับที่ถูกต้อง สวยงาม

ระบำดอกบัวผุด

ระบำดอกบัวผุด   เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ จัดอยู่ในประเภทระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด  ระบำชุดได้เลียนแบบจากธรรมชาติและองค์ประกอบต่างๆของดอกบัวผุดมาประดิษฐ์เป็นท่ารำขึ้น ดอกบัวผุด เป็นสัญลักษณ์ของดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี   ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในโลก  การเดินทางไปศึกษาค้นคว้าดอกบัวผุดค่อนข้างลำบาก จึงมีผู้พบเห็นดอกไม้ชนิดนี้น้อยมาก   นับว่าเป็นดอกไม้ที่น่าสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง  ดังนี้

๑.  ดอกบัวผุด ( Rafflesia Kerrii Meijer)
                ดอกบัวผุดเป็นกาฝากชนิดหนึ่ง ไม่มีลำต้น ราก ใบ แต่มีเส้นใยบางๆที่มองไม่เห็นเกาะติดอยู่กับท่อน้ำเลี้ยงจากรากของพืชชนิดอื่น
                จากการสำรวจและวิจัยของฝ่ายพฤษศาสตร์กองบำรุงกรมป่าไม้ พบว่า ดอกบัวผุดพันธุ์ใหม่ ที่พบในประเทศไทย เป็นพืชกาฝากที่เกาะกินเฉพาะน้ำเลี้ยงจากรากของเถาวัลย์ชื่อ “ย่านไก่ต้ม” เพียงชนิดเดียวเท่านั้น  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในบางครั้งมีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นดอกของเถาวัลย์ย่านไก่ต้ม ซึ่งความจริงแล้วเถาวัลย์ย่านไก่ต้มเป็นพันธ์ไม้วงศ์องุ่น (Vitidacac)     ที่มีเถาขนาดใหญ่พบใน      ป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ที่มีฝนตกอย่างสม่ำเสมอเกือบตลอดทั้งปี  พื้นดินเป็นดินร่วน                   หรือ ดินร่วนปนทรายตามหุบเขาหรือบริเวณริมลำธาร ดอกของเถาวัลย์ย่านไก่ต้มมีสีเขียวอมเหลือง    ขนาดโตประมาณ  ๒ เท่าของหัวไม้ขีดไฟเท่านั้น   ดอกบัวผุดมีชื่อตามท้องถิ่นที่เรียกกันว่า กระโถนฤาษี ดอกบัวตูม – บัวบาน มูงอเกะมอ หรือ  ดอกบัวสวรรค์  เป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Refflesia  จัดเป็นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก           และหายากที่สุด มักพบในป่าดิบชื้นเขตร้อน  สามารถพบได้ในบริเวณทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยพบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา ระนอง และบางส่วนของประเทศพม่า ในระดับความสูง ตั้งแต่ ๒๐๐ – ๑,๖๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล   ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบดอกบัวผุดได้บริเวณป่าลึกเขตอุทยานแห่งชาติเขาสก        อำเภอ พนม
 
๑.๑ ลักษณะของดอกบัวผุด
                ดอกบัวผุดไม่มีลำต้นมีแต่ดอก ลักษณะของดอกบัวผุด เมื่อยังตูมอยู่คล้ายกะหล่ำปลี       หรือกระถางต้นไม้ขนาดใหญ่มีกลีบหนา  ใช้เวลาราว ๘ เดือน  กระทั่งผลิบานเป็นดอกไม้มหึมา  เมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก ๗๐ – ๘๐ เซนติเมตร และดอกบัวผุดอยู่ได้ไม่เกิน ๕ วัน        ก็เหี่ยวเฉาไป นับจากแรกเริ่มจนถึงสิ้นสุดวงจรกินเวลาประมาณ ๙ เดือนที่โคนของดอกบัวผุด        มีกลีบสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในของดอกบัวผุดมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลม จานนี้จะซ่อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง กลีบดอกของ     ดอกบัวผุดจะใหญ่และหนา มีอยู่  ๕ กลีบ เมื่อยังสดอยู่มีน้ำหนักประมาณ ๑๐ กิโลกรัม กลีบดอก     มีความหนาตั้งแต่ ๐.๕ – ๑  เซนติเมตร มีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นซากเน่าทั่วๆไป

                การผสมพันธุ์ของดอกบัวผุดเป็นเรื่องน่าพิศวง       เพราะเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย          อยู่คนละดอก ดอกบัวผุดจึงมีกลิ่นเหม็นคาวเหมือนเนื้อสัตว์ โดยออกมาจากใจกลางดอก      แมลงวันหัวเขียวซึ่งชอบของเน่าจะบินตามกลิ่นมาและเข้าไปหาอาหารในดอกไม้ ส่วนหลังของมันจะสัมผัสกับยางเหนียวของละอองตัวผู้และนำเกสรตัวผู้ออกมาด้วย  เมื่อแมลงวันมาตอมดอกตัวเมีย เกสรตัวผู้กับตัวเมียผสมกัน เพียงเท่านี้การผสมเกสรก็สมบูรณ์  หลังจากนั้นจะต้องมีสัตว์พา      เมล็ดพันธุ์ดอกบัวผุดไปฝังในเถาวัลย์ย่านไก่ต้ม เมล็ดดอกบัวผุดก็อาศัยกินอาหารและน้ำจากเถาวัลย์   ย่านไก่ต้มจนผลิออกมาเป็นดอกบัวผุด