วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์

 การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วย เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD)
                การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD)  เป็นวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ  โดยการใช้กลุ่มผลสัมฤทธิ์ในการจัดกลุ่มผู้เรียน  คละความสามารถ ได้แก่ เก่ง กลาง อ่อน กลุ่มละ ๔ -๖ คน  โดยการมอบหมายกิจกรรมทั้งด้านความรู้และปฏิบัติให้ศึกษาร่วมกัน มีการช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มให้มีความรู้และปฏิบัติดีขึ้น  ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบย่อยทุกครั้งหลังจากเรียนจบในแต่ละเนื้อหาสาระ เพื่อเก็บคะแนนไว้ และทำแบบทดสอบครั้งสุดท้ายซึ่งเป็นการทดสอบรวบยอด   นำคะแนนที่ได้ของแต่ละคนไปหาคะแนนพัฒนาการแล้วนำมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม   กลุ่มใดได้คะแนนพัฒนาการมากที่สุด  กลุ่มนั้นเป็นผู้ได้รับรางวัล

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD)
           ผู้ช่วยศาสตราจารย์   ดร.วัชรา เล่าเรียนดี(๒๕๕๒ : ๑๖๓ - ๑๖๕)   ได้เสนอแนวทางขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์  ดังนี้
                  ขั้นนำ หรือเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน
                                (๑)  บอกจุดประสงค์การเรียนรู้ และความสำคัญของการเรียนรู้ในเรื่องนั้น และทบทวนวิธีร่วมมือกันเรียนรู้
                                (๒)  เร้าความสนใจด้วยการตั้งคำถามหรือสาธิต
                                (๓)  ทบทวนความรู้เดิม หรือทักษะเดิมที่เรียนไปแล้ว
                  ขั้นสอน
                                (๑) ใช้เทคนิควิธีสอนแบบต่างๆที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละสาระ
                                (๒)  กิจกรรมการสอนและการเรียนรู้ควรเน้นความเข้าใจมากกว่าการจำ
                                (๓)  สาธิตทักษะ กระบวนการ อธิบายสาระความรู้ให้กระจ่างพร้อมตัวอย่างให้ชัดเจน
                                (๔)  ตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนทุกคนอย่างทั่วถึง
                                (๕)  อธิบายคำตอบ  บอกสาเหตุที่ทำผิด และทบทวนวิธีทำ
                                (๖)  สอนเพิ่มเติมในเนื้อหาอื่นเมื่อนักเรียนเข้าใจเรื่องที่สอนไปแล้ว
                                (๗)  ถามคำถามหลายระดับ และถามให้ทั่วถึงทุกคน
                  ให้ฝึกปฏิบัติโดยครูคอยแนะนำ
                                (๑) ฝึกจากใบงานหรือใบกิจกรรมที่มอบหมาย
                                (๒)  ฝึกจากแบบฝึกหัดที่กำหนด
                                (๓)  ถามคำถามนักเรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
                  กิจกรรมกลุ่ม
                                (๑)  มอบหมายใบงาน  ใบกิจกรรม  ใบประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่ม ( ๒ ชุด ต่อ 1 กลุ่ม )  ทบทวนวิธีการเรียนรู้  และการประเมินผลการเรียนรู้และการประเมินผลงานกลุ่ม
                                (๒)  ทบทวนบทบาทหน้าที่และการปฏิบัติตนในการทำงานกลุ่มของสมาชิกกลุ่ม
                                (๓)  คอยติดตามดูแลการปฏิบัติงานกลุ่ม และปรับแก้ไขพฤติกรรมที่เหมาะสม  ให้สมาชิกทุกคนร่วมมือกันเรียนรู้ ช่วยเหลือกันและกัน
                                (๔)  ทำข้อสอบย่อยเป็นรายบุคคล (ใช้เวลา  ๑๕๒๐ นาที)
                                (๕)  ประเมินผลงานกลุ่มและการปฏิบัติงานกลุ่ม
                                (๖)  ครูต้องคอยเน้นย้ำเสมอว่า  นักเรียนหรือสมาชิกกลุ่มทุกคนต้องแน่ใจว่า สมาชิกทุกคนรู้และเข้าใจอย่างที่ตนเองรู้และเข้าใจ  งานที่ให้ทำยังส่งไม่ได้ถ้าทุกคนยังทำไม่เสร็จ (แต่ละกลุ่ม) สมาชิกกลุ่มควรถามเพื่อนในกลุ่มถ้าไม่เข้าใจ (ไม่ควรอาย)  และให้สมาชิกกลุ่มคอยเอาใจใส่ช่วยเหลือแนะนำเพื่อนด้วยกัน  ด้วยความเต็มใจ
                การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(Student Teams Achievement  Division หรือ STAD)  กระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ  ดังนี้ 
                .  การสอนของครู (Teach)
                .  การร่วมมือกันเรียนรู้ ( Team Study) ของนักเรียน
                .  การทดสอบความรู้ความเข้าใจ (Test)
                .  การให้รางวัลกลุ่ม (Team Recognition)  จากคะแนนรวมของกลุ่ม (จากคะแนนพัฒนาการของแต่ละคนรวมกันหารด้วยจำนวนสมาชิก)
                เทคนิค STAD จะต้องเริ่มต้นด้วยการสอนของครูก่อนทุกครั้ง  ซึ่งอาจใช้เวลาในการสอน ๑  ครั้ง  ในแต่ละหน่วยการเรียนตามความเหมาะสม จุดประสงค์คือ นำเสนอ  เนื้อหาสาระหรือทักษะ  ต้องให้นักเรียนได้รู้และเข้าใจ สื่อการเรียนการสอนคือ  แผนการจัดการเรียนรู้  รวมทั้งใบกิจกรรม  ใบงาน ใบความรู้ สำหรับนักเรียนและแบบทดสอบผลเป็นรายบุคคล  แบบประเมินผลพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (สำหรับครู)  แบบประเมินผลการทำงานกลุ่มของนักเรียน(สำหรับนักเรียน) ข้อแนะนำที่สำคัญก็คือ  ในขั้นสอนครูควรดำเนินการสอนตามลำดับขั้นตอน  มีการสาธิต  การยกตัวอย่างอธิบายอย่างชัดเจน  รวมทั้งให้ฝึกปฏิบัติโดยครูคอยแนะนำก่อนจัดกลุ่มให้นักเรียนปฏิบัติงานร่วมมือกันเรียนรู้  ดังนั้นในขั้นสอนครูอาจจะเลือกกระบวนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  กระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง เช่น กระบวนการสอนแบบ Explicit Teaching  ของ โรเซนไชน์, Hunter Teachint  model  ของ ฮันเดอร์ หรือ กิจกรรมการสอนของกู๊ด และโกรวส์ (Good, Grouws and Ebmeier 1983)

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7 ตุลาคม 2553 เวลา 00:19

    การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วย เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ
    เห็นด้วยเด็กจะได้รับความรู็ฒ

    ตอบลบ