วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ระบำดอกบัวผุด

ระบำดอกบัวผุด   เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ จัดอยู่ในประเภทระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด  ระบำชุดได้เลียนแบบจากธรรมชาติและองค์ประกอบต่างๆของดอกบัวผุดมาประดิษฐ์เป็นท่ารำขึ้น ดอกบัวผุด เป็นสัญลักษณ์ของดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี   ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในโลก  การเดินทางไปศึกษาค้นคว้าดอกบัวผุดค่อนข้างลำบาก จึงมีผู้พบเห็นดอกไม้ชนิดนี้น้อยมาก   นับว่าเป็นดอกไม้ที่น่าสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง  ดังนี้

๑.  ดอกบัวผุด ( Rafflesia Kerrii Meijer)
                ดอกบัวผุดเป็นกาฝากชนิดหนึ่ง ไม่มีลำต้น ราก ใบ แต่มีเส้นใยบางๆที่มองไม่เห็นเกาะติดอยู่กับท่อน้ำเลี้ยงจากรากของพืชชนิดอื่น
                จากการสำรวจและวิจัยของฝ่ายพฤษศาสตร์กองบำรุงกรมป่าไม้ พบว่า ดอกบัวผุดพันธุ์ใหม่ ที่พบในประเทศไทย เป็นพืชกาฝากที่เกาะกินเฉพาะน้ำเลี้ยงจากรากของเถาวัลย์ชื่อ “ย่านไก่ต้ม” เพียงชนิดเดียวเท่านั้น  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในบางครั้งมีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นดอกของเถาวัลย์ย่านไก่ต้ม ซึ่งความจริงแล้วเถาวัลย์ย่านไก่ต้มเป็นพันธ์ไม้วงศ์องุ่น (Vitidacac)     ที่มีเถาขนาดใหญ่พบใน      ป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ที่มีฝนตกอย่างสม่ำเสมอเกือบตลอดทั้งปี  พื้นดินเป็นดินร่วน                   หรือ ดินร่วนปนทรายตามหุบเขาหรือบริเวณริมลำธาร ดอกของเถาวัลย์ย่านไก่ต้มมีสีเขียวอมเหลือง    ขนาดโตประมาณ  ๒ เท่าของหัวไม้ขีดไฟเท่านั้น   ดอกบัวผุดมีชื่อตามท้องถิ่นที่เรียกกันว่า กระโถนฤาษี ดอกบัวตูม – บัวบาน มูงอเกะมอ หรือ  ดอกบัวสวรรค์  เป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Refflesia  จัดเป็นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก           และหายากที่สุด มักพบในป่าดิบชื้นเขตร้อน  สามารถพบได้ในบริเวณทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยพบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา ระนอง และบางส่วนของประเทศพม่า ในระดับความสูง ตั้งแต่ ๒๐๐ – ๑,๖๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล   ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบดอกบัวผุดได้บริเวณป่าลึกเขตอุทยานแห่งชาติเขาสก        อำเภอ พนม
 
๑.๑ ลักษณะของดอกบัวผุด
                ดอกบัวผุดไม่มีลำต้นมีแต่ดอก ลักษณะของดอกบัวผุด เมื่อยังตูมอยู่คล้ายกะหล่ำปลี       หรือกระถางต้นไม้ขนาดใหญ่มีกลีบหนา  ใช้เวลาราว ๘ เดือน  กระทั่งผลิบานเป็นดอกไม้มหึมา  เมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก ๗๐ – ๘๐ เซนติเมตร และดอกบัวผุดอยู่ได้ไม่เกิน ๕ วัน        ก็เหี่ยวเฉาไป นับจากแรกเริ่มจนถึงสิ้นสุดวงจรกินเวลาประมาณ ๙ เดือนที่โคนของดอกบัวผุด        มีกลีบสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในของดอกบัวผุดมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลม จานนี้จะซ่อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง กลีบดอกของ     ดอกบัวผุดจะใหญ่และหนา มีอยู่  ๕ กลีบ เมื่อยังสดอยู่มีน้ำหนักประมาณ ๑๐ กิโลกรัม กลีบดอก     มีความหนาตั้งแต่ ๐.๕ – ๑  เซนติเมตร มีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นซากเน่าทั่วๆไป

                การผสมพันธุ์ของดอกบัวผุดเป็นเรื่องน่าพิศวง       เพราะเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย          อยู่คนละดอก ดอกบัวผุดจึงมีกลิ่นเหม็นคาวเหมือนเนื้อสัตว์ โดยออกมาจากใจกลางดอก      แมลงวันหัวเขียวซึ่งชอบของเน่าจะบินตามกลิ่นมาและเข้าไปหาอาหารในดอกไม้ ส่วนหลังของมันจะสัมผัสกับยางเหนียวของละอองตัวผู้และนำเกสรตัวผู้ออกมาด้วย  เมื่อแมลงวันมาตอมดอกตัวเมีย เกสรตัวผู้กับตัวเมียผสมกัน เพียงเท่านี้การผสมเกสรก็สมบูรณ์  หลังจากนั้นจะต้องมีสัตว์พา      เมล็ดพันธุ์ดอกบัวผุดไปฝังในเถาวัลย์ย่านไก่ต้ม เมล็ดดอกบัวผุดก็อาศัยกินอาหารและน้ำจากเถาวัลย์   ย่านไก่ต้มจนผลิออกมาเป็นดอกบัวผุด




3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ3 ตุลาคม 2553 เวลา 02:55

    อยากให้คนต่างชาติได้ดู

    สิ่งที่คนไทยได้ทำขึ้นมาจัง

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ7 ตุลาคม 2553 เวลา 00:15

    ดีคับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ11 ตุลาคม 2553 เวลา 01:34

    ดีค่ะ

    ระบำดอกบัวต้องได้

    ไปโชว์หลายๆที่ค่ะ

    ตอบลบ